พลังงานอะไรที่มีผลเสียต่อสภาพแวดล้อมได้มากที่สุด

การผลิตพลังงานเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของมลพิษทางอากาศที่เป็นตัวการสำคัญของภาวะโลกร้อน เราแบ่งประเภทพลังงานออกเป็นสองอย่าง คือ “พลังงานสะอาด” และ “พลังงานปนเปื้อน” ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ในปัจจุบันเราสามารถมีช่องทางในการสร้างพลังงานสะอาดได้เพิ่มขึ้นหลายวิธี ช่วยลดมลพิษทางอากาศคืนความอุดมสมบูรณ์แก่ธรรมชาติ อย่างไรก็ตามพวกมันก็ยังมีข้อเสียอยู่เช่นกัน เรามาดูประเภทของแหล่งพลังงานที่แต่ละประเภทว่าแตกต่างกันอย่างไร ประเภทพลังงานหลักของโลก 1.ถ่านหิน ถ่านหิน เป็นตัวสร้างมลพิษมากกว่าแหล่งพลังงานอื่นๆ การเผาถ่านหินทำให้เกิดเขม่า หมอกควัน ฝนกรดส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดของเสียมากมายรวมถึงกากตะกอน สารเคมีที่เป็นพิษและความร้อน ในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตพลังงานนับตั้งแต่การขุด การขนส่ง การจัดเก็บ จนถึงการเผาไหม้ล้วนก่อให้เกิดมลพิษทั้งสิ้น มันเป็นแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลชั้นดีของโลกที่ถูกใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามมันก็จะหมดไปในที่สุด มีการคาดการณ์เอาไว้ว่าเราจะมีถ่านหินใช้ต่อไปได้อีก 100 ปี ในปัจจุบันนี้มีโรงงานถ่านหินเริ่มปิดตัวลงหลายแห่งทั่วโลก โดยไม่มีการรายงานว่ามีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอีกเลย 2.ก๊าซธรรมชาติ แม้ว่าจะมีความเสี่ยงจากการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติมากเกินไป เช่นเดียวกับถ่านหิน เนื่องจากก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมรวมถึงสุขภาพของมนุษย์ อย่างไรก็ตามผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนที่มันก่อต่ำกว่าพลังงานถ่านหินและน้ำมัน แต่ปัญหาของมันไม่ได้อยู่ตรงนี้เนี่ยสิ การขุดเจาะก๊าซธรรมชาติเพื่อขนส่งลำเลียงไปในท่ออาจส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของก๊าซมีเทน มันเป็นส่วนประกอบหลักของก๊าซธรรมชาติที่แข็งแกร่งกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 35 กระบวรการขุดเจาะยังเป็นสาเหตุการเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมในบริเวณ มีโอกาสที่นะมลพิษลงสู่แหล่งน้ำใกล้เคียง เคยมีรายงานบันทึกไว้ชัดเจนว่าน้ำใต้ดินที่อยู่ใกล้กับหลุมก๊าซซึ่งปนเปื้อนด้วยก๊าซทำให้เป็นแหล่งน้ำที่อันตราย 3.พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานนิวเคลียร์เป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่พลังงานสะอาดร้อยเปอร์เซ็นต์แต่เมื่อเทียบกับพลังงานชนิดอื่นๆ มันถือว่ามีความปลอดภัยมากที่สุด เนื่องจากพลังงานนิวเคลียร์ปราศจากการปล่อยมลพิษ ลดการปล่อยคาร์บอนประมาณ 2.4 พันล้านตันต่อปี แย่หน่อยที่มันก็มีข้อเสียเช่นกันเพราะแต่มันก่อให้เกิดกากกัมมันตภาพรังสีระดับสูง ที่มีอันตรายแตกต่างจากขยะอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไประดับความเป็นอันตรายของกากนิวเคลียร์ลดลง ดังนั้นของเสียที่เกิดจากการผลิตพลังงานนิวเคลียร์จะต้องได้รับการจัดการอย่างปลอดภัยสูงสุด นั่นจึงเป็นต้นทุนมหาศาลที่ต้องจ่าย
ประโยชน์ที่ได้รับจาก พลังงานลม

พลังงานลมกลายเป็นพลังงานทางเลือกอีกหนึ่งชนิดที่หลายคนหันมาใช้งานกันเยอะมากทั้งในการใช้ระดับครัวเรือน หรือ การทำฟาร์มพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลมเพื่อนำไปขายต่อสร้างรายได้ให้กับตัวเอง ฟาร์มไฟฟ้าพลังงานลมมีข้อดีอย่างไร ทำไมหลายคนจึงหันมาทำธุรกิจตรงนี้ ติดตั้งง่าย เสร็จไว หากให้เปรียบเทียบฟาร์มพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ เรื่องการติดตั้งพลังงานลมชนะขาดเลย อาจจะมีปัญหาบ้างการขนส่งกังหันลมเข้าไปสู่จุดติดตั้ง แต่หากอุปกรณ์มาครบแล้วการติดตั้งกังหันลมเพื่อทำพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลมนั้นใช้เวลาไม่เกินสามสัปดาห์ (รวมทดสอบระบบด้วย) ก็สามารถใช้งานได้แล้ว ส่วนพลังงานทางเลือกแบบอื่นหากทำในระดับฟาร์มอาจจะติดตั้งช้ากว่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การทำฟาร์มพลังงานไฟฟ้า นอกจากจะมองถึงพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับนั้นจะคุ้มค่ากับต้นทุนหรือไม่แล้ว การรักษาสิ่งแวดล้อมภายนอกเองก็สำคัญเหมือนกัน หากฟาร์มพลังงานไฟฟ้าของเราทำลายสิ่งแวดล้อมโดยรอบพื้นที่ก็จะเป็นเราเองนั่นแหละที่รับผลกระทบก่อน หากเราเลือกใช้พลังงานงานไฟฟ้าจากพลังงานลมก็หายห่วงเลย แม้จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในการผลิตน้อยมากเรียกว่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเลยทีเดียว ค่าใช้จ่ายน้อย การทำฟาร์มโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือกนั้น เรื่องค่าใช้จ่ายเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ดีทั้งค่าซ่อมบำรุง ค่าอุปกรณ์ ค่ารักษา ค่าช่าง ฯลฯ ฟาร์มโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือกบางอย่างแม้จะได้รับพลังงานไฟฟ้ากลับมาเยอะ แต่ก็ต้องแลกด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว จุกจิก จนทำให้ไม่คุ้มทุน แต่พลังงานลมไม่เป็นอย่างนั้น เราติดตั้งแล้วก็เสร็จเลย ค่าใช้จ่ายในการบำรุงมีน้อยมาก ยิ่งบ้านเราลมไม่ได้แรงมากเหมือนต่างประเทศ ทำให้กังหันสามารถทำงานได้ยาวๆ เลย ทำงานง่าย พลังงานแสงอาทิตย์แม้จะมีจุดเด่นเรื่องพลังงานที่ให้มาทุกวันแบบไม่มีหยุด แต่พลังงานลมเองก็มีจุดเด่นเหมือนกันก็คือเราสามารถหยิบเอาพลังงานลมจากกังหันมาทำไฟฟ้าได้ตลอด แม้ว่าจะเป็นตอนกลางวัน ตอนกลางคืน ขอเพียงมีลมเราก็สามารถหาพลังงานไฟฟ้าได้เลย แม้ว่าเจ้าของจะอยู่หรือไม่อยู่ก็ตาม แหล่งท่องเที่ยว อีกหนึ่งรายได้ของฟาร์มพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลมก็คือ หากเจ้าของกังหันพัฒนาพื้นที่โดยรอบให้ดี เราจะสามารถทำรายได้อีกทางหนึ่งได้ด้วยการทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว แลนด์มาร์ค ของพื้นที่นั้นด้วยยิ่งใครมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบเกษตรผสมผสาน พวกฟาร์มแกะ ยิ่งทำสร้างรายได้เข้าไปอีก ข้อดีเหล่านี้ทำให้การหันมาจับธุรกิจฟาร์มพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลมกลายเป็นเทรนด์ทางธุรกิจที่มาแรงมาก ยิ่งถ้าใครมีที่ดินลมผ่านตลอดเวลา ยิ่งเหมาะเลย ตั้งเสากังหัน หาคนดูแลเพียงเท่านี้ก็จบ ใครที่กำลังมองหาธุรกิจพลังงานอยู่ น่าไปศึกษาเพิ่มเติมก่อนจะลงทุน
พลังงานชีวภาพใช้แล้วเกิดประโยชน์อะไรบ้าง

พลังงานชีวภาพถือว่าเป็นพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจมาก เนื่องจากวัตถุดิบตั้งต้นในการทำพลังงานชีวภาพนั้นมาจากซากพืช ซากสัตว์ มูลสัตว์ ฯลฯ ของเหล่านี้เป็นสิ่งคู่กับสังคมเกษตรกรรมไทยเรามานาน ทีนี้เรามาดูกันบ้างว่าพลังงานชีวภาพนั้นใช้แล้วเกิดประโยชน์อย่างไรกันบ้าง การประหยัดพลังงาน ประโยชน์อย่างแรกของการนำพลังงานชีวภาพมาใช้เป็นเรื่องของพลังงาน เช่น การนำพลังงานชีวภาพมาใช้จะช่วยลดการใช้พลังงานหลักจากไฟฟ้า พลังงานน้ำมัน พลังงานถ่านหิน เป็นต้น ซึ่งการลดพลังงานตรงนี้ย่อมหมายถึงการลดต้นทุนในการบริหารจัดการทำเกษตร รวมไปถึงการใช้ชีวิตด้วย พลังงานลดลง ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลดลงทำให้เหลือเงินมากขึ้น สามารถนำเงินตรงนี้ไปทำอะไรได้อีกเยอะ อีกนัยหนึ่งด้านพลังงาน การใช้พลังงานชีวภาพเป็นหลักประกันด้านพลังงานให้กับตัวเอง หากเราทำเกษตร ทำฟาร์ม ห่างไกลไฟฟ้า การมีแหล่งผลิตพลังงานด้วยตัวเองก็จะช่วยได้ในยามฉุกเฉิน อย่างไฟฟ้าดับ เกิดเหตุลมแรงจนสายไฟฟ้าขาด เสาไฟฟ้าล้ม เราก็ยังใช้ชีวิตต่อไปได้เนื่องจากมีแหล่งพลังงานสำรอง (ขนาดน้ำยังมีสำรอง มีแหล่งไฟสำรองก็ต้องมี) การกำจัดของเสีย การใช้พลังงานชีวภาพ ต้องนำของเสีย พวกขยะอินทรีย์สาร หรือแม้แต่มูลสัตว์มาเป็นต้นทุนเชื้อเพลิงการผลิต นั่นทำให้เราสามารถกำจัดของเสียเหล่านั้นได้แบบเกิดประโยชน์สูงสุดด้วย ยกตัวอย่างเช่น ซากพืชบางอย่างเราใช้การเผาทำลายซึ่งไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรเลย หรือ มูลสัตว์ หากไม่เก็บมาเป็นปุ๋ย ก็กลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคไป หากเปลี่ยนมาเป็นกำจัดโดยการเข้าเตาพลังงานชีวภาพ นอกจากจะได้ทำลายของเสีย ยังได้พลังงานกลับมาหมุนเวียนใช้ด้วย ปุ๋ยชีวภาพ ชั้นเยี่ยม เกษตรกรรมยุคนี้ นอกจากจะต้องการผลผลิตอันยอดเยี่ยม ยังต้องหลีกหนีสารพิษ สารเคมีให้มากสุดด้วย การหันกลับมาใช้วิธีชีวภาพเพื่อบริหารจัดการผลผลิตนับว่าเป็นเรื่องดี หากใครกำลังทำแนวคิดนี้อยู่ การหันมาใช้พลังงานชีวภาพนับว่าเกื้อหนุนกัน เนื่องจากพลังงานชีวภาพบางอย่างนำอินทรีย์สารมาผ่านกระบวนการบางอย่างจนเหลือซากทิ้งไว้ ซากเหล่านี้เราสามารถนำมาแปรรูปเป็นปุ๋ยชีวภาพได้อีกต่อหนึ่ง คุณภาพดีกว่าปุ๋ยคอกธรรมดาเสียอีก สำคัญไม่มีสารเคมี ชีวภาพล้วนๆ ตอบโจทย์คนทำเกษตรชีวภาพเต็มที่ รักษาสิ่งแวดล้อม ประเด็นการรักษาสิ่งแวดล้อม ลดโลกร้อน ช่วยลดภาวะเรือนกระจกพูดกันมาเยอะ แต่ทำยังไงล่ะ พลังงานชีวภาพเป็นคำตอบ เนื่องจาก หนึ่งลดพลังงานถ่านหิน ฟอสซิล ไฟฟ้า เมื่อลดการใช้ ลดการผลิต ก็ลดการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศด้วย สองก๊าซชีวภาพกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่ต้นยันจบทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยมาก กลุ่มอนุรักษ์ระดับโลกเองก็เห็นด้วยกับข้อนี้ หากต้องการช่วยลดโลกร้อน รักษาสิ่งแวดล้อม หันมาใช้พลังงานชีวภาพกันดีกว่า
พลังงานชีวภาพ VS พลังงานชีวมวล ต่างกันอย่างไรบ้าง

พลังงานทางเลือกกลายมาเป็นประเด็นพูดกันเยอะมากในช่วงนี้ เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี บวกกับ ฟอสซิลแหล่งพลังงานเดิมนั้นเริ่มจะหมดลงไปจากประเทศ จึงต้องมองหาพลังงานทางเลือกใหม่เข้ามาทดแทนในปริมาณอันเหมาะสม พลังงานสองชนิดที่ใกล้เคียงกันมากแต่ไม่เหมือนกันจนเราสับสนก็คือ พลังงานชีวภาพ กับ พลังงานชีวมวล ทั้งสองอย่างนี้แตกต่างหรือเหมือนกันตรงไหน เราจะมาเฉลยกันตรงนี้ พลังงานชีวภาพคืออะไร เรามาทำความเข้าใจพลังงานทั้งสองชนิดนี้กันก่อน (เชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้จัก) พลังงานชีวภาพ หมายถึง เราหยิบเอาวัตถุชีวภาพมาย่อยให้เกิดพลังงาน พลังงานนี้จะอยู่ในรูปแบบของก๊าซ เรียกว่า ก๊าซชีวภาพ จากนั้นจะนำก๊าซนี้ไปดัดแปลงเพื่อเป็นพลังงานอีกทอดหนึ่ง พลังงานแบบนี้มักจะแปรรูปออกมาเป็นก๊าซหุงต้ม และ ก๊าซรถยนต์ทั้งแบบ CNG และ NGV นั่นเอง เชื่อว่าหลายคนคงเคยใช้ เคยเห็นกันมาบ้าง พลังงานชีวมวล คืออะไร พลังงานชีวมวล พวกนี้จะตีความถึง การนำชีวมวลมาทำให้เกิดพลังงานขึ้นผ่านกระบวนการอันหลากหลาย อย่าง เผา หมัก เป็นต้น โดยวิธีการแปรรูปจะมีคอนเซปต์ว่าเปลี่ยนจากของแข็งให้มาเป็นก๊าซ จากนั้นก็จะนำก๊าซนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์อีกทอดหนึ่ง ความแตกต่างด้านเชื้อเพลิง อ่านแล้วก็พอเข้าใจว่า เป็นพลังงานทางเลือกแต่มันแตกต่างกันอย่างไร ข้อแรกวัสดุที่นำมาเป็นต้นทุนให้เกิดพลังงานแตกต่างกัน หากเป็นพลังงานชีวภาพจะสามารถนำพืชเชื้อเพลิงมาใช้ได้ อีกส่วนหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นเลยนั่นคือการนำขยะอินทรีย์จากครัวเรือน และ มูลสัตว์มาเป็นต้นทุนในการเกิดพลังงานได้ ส่วนพลังงานชีวมวลนั้นจะใช้พืชเชื้อเพลิงเหมือนกัน แต่จะแยกย่อยว่าสามารถใช้พืชเชื้อเพลิงแบบมีเส้นใยได้ด้วย ส่วนมูลกับของเสียใช้ไม่ได้ แตกต่างกันตรงนี้ กระบวนการสู่พลังงาน หากปลายทางของพลังงานทั้งสองรูปแบบนี้ไปจบที่เสาไฟฟ้าพลังงานสูง เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้า ความแตกต่างจะเป็นเรื่องกระบวนการระหว่างทาง ถ้าเป็นพลังงานชีวมวลระหว่างทางจะเป็นการนำต้นทุนเชื้อเพลิงไปทำให้เกิดการเผาไหม้ จากนั้นก็ใช้ไอน้ำ ผสมผสานด้วยหลักการโรงงานไฟฟ้าความร้อน จึงออกมาเป็นไฟฟ้า ส่วนพลังงานชีวภาพจะนำวัตถุดิบไปเข้ากระบวนการหมักเพื่อให้ได้ก๊าซ จากนั้นเข้าโรงไฟฟ้าตามลำดับ การแปรรูป การแปรรูปทั้งสองพลังงานนี้ก็แตกต่างกัน พลังงานชีวภาพ มักจะแปรรูปพลังงานเพื่อออกขายในรูปแบบก๊าซมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นก๊าซหุงต้ม ก๊าซสำหรับรถยนต์ทั้ง CNG และ LPG ทางด้านพลังงานชีวมวล การแปรรูปจะออกมาเป็นของเหลว พวกน้ำมันสูตร ไบโอดีเซล ซะมากกว่า จะเห็นว่าพลังงานทางเลือกทั้งสองแบบจัดว่าเป็นความหวังใหม่ด้านพลังงานในอนาคตของไทย หวังว่าจะมีการคิดค้นสูตรใหม่ขึ้นมาอีกเพื่อทดแทนพลังงานฟอสซิล ถ่านหินให้น้อยลง
การปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพโดยการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยสารละลายเอมีน

ก๊าซชีวภาพคืออะไร ? ก๊าซชีวภาพ เป็นก๊าซที่เกิดมาจากธรรมชาติของการสลายอินทรีย์สาร ซึ่งเกิดจากสภาพอันปราศจากออกซิเจน ในปัจจุบันการผลิตก๊าซชนิดนี้ มาจากการย่อยสลายของมูลสัตว์ , ซากเน่าของพืชผัก รวมทั้งสารอินทรีย์ต่างๆ ที่นำเข้าไปผสมจนก่อให้เกิดการหมัก ในสภาพไร้อากาศ โดยเป็นผสมก๊าซหลากชนิด คือ ก๊าซมีเทน , ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ , ก๊าซไนโตรเจน , ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ แต่ก๊าซมีเทนจะมีเยอะที่สุดคือประมาณ 60-70 % เพราะฉะนั้นเราจึงสามารถนำเอาก๊าซตัวนี้ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนี้ยังนำไปใช้เป็นพลังงานทดแทนจากการใช้เชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ได้อีกด้วย แต่ถึงอย่างนั้นก๊าซมีเทนก็มีค่าความร้อนสูง รวมทั้งการที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผสมด้วย ก็จะทำให้ค่าความร้อนโดยรวมของก๊าซลดลง แถมยังทำให้ความเข้มข้นของก๊าซมีเทนไม่คงที่ เมื่อทำไปใช้จะส่งผลให้เกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ จากปัญหาเล็กๆ อย่างทำให้ไฟดับ แต่มันอาจลามไปถึงการระเบิดในห้องเผาไหม้เลยก็ได้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของก๊าซชีวภาพ ให้มีความสมบูรณ์และเมื่อนำไปปรับปรุงจนมีความเสถียรแล้วจะเรียกมันว่า ไบโอมีเทน การปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพสามารถแบ่งออกเป็น 4 วิธี ดังนี้ Water scrubbing คือ การนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากการไหลเวียน ด้วยวิธีสัมผัสทางตรงของทั้งน้ำและก๊าซ ทำการคัดแยกภายในกระบอกดูดซับ และเมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สัมผัสกับน้ำแล้ว มันก็จะละลายเข้าไปในน้ำ ส่วนก๊าซที่เหลือจากการดูดซับจะทำให้สัดส่วนของไปโอมีเทนเพิ่มสูงขึ้น Pressure swing absorption คือ การนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากมีเทน ด้วยการปรับความดัน โดยการที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะโดนดูดซับจากของแข็งที่มีรูพรุน โดยพึ่งพาความแตกต่างของแรงดัน ไบโอมีเทนที่ได้ก็จะมีความเข้มข้นมากขึ้น Amine Absorption Process โดยวิธีนี้ได้นำมาใช้อย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรม ซึ่งมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน ยกตัวอย่างเช่น การแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น โดยกระบวนการนี้สามารถนำสารละลายเอมีนกลับมาใช้ได้ใหม่ จึงเป็นวิธีอันน่าสนใจ รวมทั้งได้รับความนิยมมาก Membrane Separation คือ การแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการใช้วิธี Membrane ทำโดยการป้อนก๊าซชีวภาพเข้าไปทางด้านหนึ่งของ Membrane และกำหนดความดัน P1 ต่อมาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งผสมอยู่ในก๊าซชีวภาพจะเดินทางผ่าน Membrane ไปยังอีกด้าน โดยด้านนี้จะควบคุมความดันไว้ที่…
ข้อดี” และ “ข้อเสีย” ของพลังงานที่เรียกว่านิวเคลียร์

มาทำความรู้จักกับพลังงานนิวเคลียร์กันก่อน พลังงานนิวเคลียร์ บางครั้งก็เรียกว่า พลังงานปรมาณู โดยพลังงานนี้ได้ถือกำเนิดเกิดขึ้นเองจากการรังสรรค์ของธรรมชาติอันเกิดมาจากการคายความร้อนของนิวเคลียร์ อันมาจากการที่นิวเคลียสแตกตัว ยกตัวอย่างเช่น ปฏิกิริยา Fusion , ปฏิกิริยา Fission เป็นต้น อีกทั้งจากการคิดค้นจึงทำให้มนุษย์ผลิตพลังงานชนิดนี้ขึ้นมาเองได้ เช่น สารไอโซโทป , ระเบิดปรมาณู เป็นต้น พลังงานนิวเคลียร์สามารถปล่อยพลังงานของตนออกมาได้หลายแบบ เช่น รังสีแกมมา , อนุภาคแอลฟ่า , อนุภาคเบตา , อนุภาคนิวตรอน เป็นต้น ข้อดีของพลังงานนิวเคลียร์ • ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ตรวจสอบการรั่วซึมของการผนึกวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ด้วย krypton-85 เป็นต้น • ด้านการเกษตร เช่น นำนิวเคลียร์มาวิเคราะห์ดินเพื่อพื้นที่ใช้ในการเพาะปลูก , ฉายรังสีเพื่อย่อเวลาในการเน่าเนื้อสัตว์ , พืช , ผัก, ผลไม้ เป็นต้น • สิ่งแวดล้อม เช่น การใช้รังสี Gamma ฆ่าเชื้อโรคจากน้ำทิ้งในแหล่งชุมชน เป็นต้น • มีความน่าเชื่อถือ เพราะ พลังงานนิวเคลียร์ยังมีกำลังพอที่จะนำไปใช้ในอีกหลาย 10 ปีข้างหน้า ไม่ต้องกังวลว่ามันจะหมดเร็วๆ นี้ • เป็นพลังงานสะอาด เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับถ่านหิน เนื่องจากมันปล่อยก๊าซ Carbon Dioxide หรือก๊าซตัวร้ายอื่นๆ น้อยกว่า ข้อเสียของพลังงานนิวเคลียร์ • เชื้อเพลิงของพลังงานนิวเคลียร์ที่ใช้ไปแล้ว ต้องมีการเก็บไว้ในที่ปลอดภัย ซึ่งสามารถรองรับเชื้อเพลิงตัวนี้ได้เพราะมันอันตรายมาก และสามารถรั่วไหลออกไปข้างนอกถ้าเก็บไม่ถูกวิธี นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในการทำอาวุธนิวเคลียร์ได้อีกด้วย ส่วนปัญหาสำคัญอีกข้อจริงๆ ก็คือ ขยะเหล่านี้ใช้เวลาในการย่อยสลายเป็นร้อยๆ ปี • มีความเสี่ยงสูง พลังงานนิวเคลียร์สามารถเป็นได้ทั้งของที่ช่วยสร้างประโยชน์ให้แก่โลก…
ทำความเข้าใจถึงความหมายของ พลังงานชีวมวล

ชีวมวล หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Bio-energy คือสารอินทรีย์อันได้มาจากสิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น ต้นไม้ อ้อย มันสำปะหลัง ถ่านฟืน วัชพืชต่าง รวมทั้ง ขยะ มูลสัตว์ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาผลิตเป็นแหล่งพลังงานได้ ทำให้ลดการใช้พลังงานในด้านอื่นลงได้ เช่น น้ำมัน ไฟฟ้า แก๊ส ถ่านหิน เป็นต้น เป็นการช่วยลดพลังงานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยลดการใช้จ่ายเงินของประเทศ ในการนำเข้าเชื้อเพลิงบางชนิด แถมยังเป็นทรัพยากรที่หาง่ายและมีราคาถูกอีกด้วย ดังนั้นการนำพลังงานชีวมวลมาใช้เป็นพลังงานทดเพื่อแทนพลังงานอื่นๆ ถือเป็นทางเลือกใหม่สำหรับพลังงานในอนาคต เราสามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานชีวมวลได้มากมายหลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่มีประสิทธิภาพสูง คือ การใช้กากของเหลือในโรงงานอุตสาหกรรมทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วมกัน การใช้กากของเหลือมาผลิตกระแสไฟฟ้าสามารถมีศักยภาพสูงถึง 3,000 เมกะวัตต์เลยทีเดียว การหมักก๊าซชีวภาพสร้างประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมท้องของถิ่น เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการกำจัดมูลสัตว์และกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญแทบทุกพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นการลดใช้พื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับกำจัดของเสียอีกด้วย ข้อดีอีกอย่างของการใช้พลังงานชีวมวล คือลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก ทำให้เกิดโลกร้อน เพราะ การใช้เชื้อเพลิงชีวมวลไม่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไซด์เพิ่มขึ้น สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน มีผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล ไม่น้อยกว่า 20 เจ้า ทั้งใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิง ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง ปัญหาของการพัฒนาพลังงานชีวมวลทุกวันนี้ไม่ใช่ปัญหาด้านเทคโนโลยี แต่ปัญหาสำคัญคือ ราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายย่อยจากพลังงานชีวมวล ต่ำกว่าราคาจากผู้ผลิตรายใหญ่เชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่มาก นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้แรงจูงใจในการลงทุนรวมทั้งการพัฒนาพลังงานจากชีวมวลลดน้อยลง สำหรับประเทศไทยจำเป็นต้องมีความมุ่งมั่นในการพัฒนานโยบายพลังงานชีวมวลให้มากกว่านี้ เช่น ในระยะสั้นควรมีการปรับราคารับซื้อไฟฟ้า ในเรื่องของระยะยาวหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณ เพื่อการวิจัยอันต่อยอดไปสู่พัฒนาให้มากขึ้น ทั้งนี้เป็นการสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล รวมถึงการนำพลังงานชีวมวลไปใช้ในรูปแบบอื่นอย่างจริงจัง หากเราหันมาให้ความสำคัญพลังงานชีวมวลกันมากขึ้น ประเทศของเราสามารถก้าวไปได้ไกลกว่านี้มาก รวมทั้งการประหยัดเงินตราของประเทศที่ลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการลดของเหลือใช้ต่างๆให้เป็นประโยชน์ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่เราควรตระหนักกันให้มากขึ้น
ข้อดีของพลังงานแสงอาทิตย์ การเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงาน

หลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่าพลังงานแสงอาทิตย์กันมาบ้างแล้ว แต่อาจจะได้ยินมาเพียงผิวเผินวันนี้เราจะบอกข้อดีของพลังงานแสงอาทิตย์ว่ามีอะไรกันบ้าง และเราสามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานได้ยังไง มาดูกันเลยค่ะ พลังงานแสงอาทิตย์ คือ พลังงานแสงรวมทั้งพลังงานความร้อนอันแผ่รังสีมาจากดวงอาทิตย์และส่องลงมายังโลกของเรา พลังงานแสงอาทิตย์ถูกนำมาใช้งานเป็นอย่างมากแล้วในหลายๆแห่งของโลก เราสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้า ทำความร้อน หรือ ทำความเย็น ก็ยังได้ มีวิธีการมากมายร้อยแปดในการนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้งาน โดยสามารถแบ่งพื้นฐานของพลังงานแสงอาทิตย์ ได้ 2 แบบ คือ พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ และ เซลล์แสงอาทิตย์ เซลล์แสงอาทิตย์ พูดง่ายๆคือการผลิตไฟฟ้าจากแสงนั่นเอง เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้สารกึ่งตัวนำ สารกึ่งตัวนำใช้กันมากที่สุดคือซิลิกอน เมื่อแสงส่องลงมาโดนสารกึ่งตัวนำนี้ ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าสลับ เพราะฉะนั้น ยิ่งแสงส่องแรงมากเท่าไหร่ ไฟฟ้าก็ยิ่งลื่นไหลมากขึ้นเท่านั้น ถือว่าเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่สะอาดชนิดหนึ่งอีกทั้งยังไม่สร้างมลภาวะใดๆให้แก่โลกด้วย ข้อดีอีกอย่าง คือ ยังสามารถผลิตไฟฟ้าในวันที่มีก้อนเมฆมากได้อีกด้วย อีกทั้งวันมีเมฆจำนวนน้อยก็ยังผลิตพลังงานได้สูงกว่าวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสโล่ง เพราะ แสงอาทิตย์สะท้อนมาจากเมฆนั่นเอง ในปัจจุบันเราจะเห็นเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดเล็ก ซึ่งติดอยู่กับอุปกรณ์ขนาดเล็กเพื่อให้พลังงาน เช่น บนเครื่องคิดเลข อีกทั้งเซลล์แสงอาทิตย์ยังใช้ผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ไม่มีสายส่งไฟฟ้าได้อีกด้วย ในปัจจุบันนี้มีการพัฒนาตู้เย็น ความเย็นจากแสงอาทิตย์ หรือ Solar Chill ซึ่งสามารถทำงานได้โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ มีประโยชน์เป็นอย่างมากสำหรับในพื้นที่กันดารหรือในประเทศโลกที่3 สถาปนิกยังได้ออกแบบอุปกรณ์อันสามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้และนำมาใช้กับที่อยู่อาศัยหรืออาคารต่างๆ เช่น หลังคากระเบื้องนำมาติดหินชนวนเซลล์แสงอาทิตย์ เซลล์แสงอาทิตย์สามารถผลิตพลังงานสูงสุดให้กับอาคารบ้านเรือนในวันอากาศร้อนร้อนจัด จึงเป็นการช่วยลดภาวะไฟฟ้าในปริมาณสูงสุดอีกด้วย ข้อดีของพลังงานแสงอาทิตย์ 1.เป็นพลังงานไม่มีวันหมด พลังงานจากธรรมชาติได้มาจากดวงอาทิตย์ จัดเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติประเภทใช้แล้วไม่หมดสิ้น 2.เป็นพลังงานสะอาด พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์นั้น เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งไม่สร้างมลภาวะเป็นพิษให้แก่โลกของเรา โดยพลังงานอื่นๆต้องมีการเผาไหม้ก่อน ก็ต้องมีมลพิษรั่วไหลออกมาบ้างไม่มากก็น้อย 3.สามารถผลิตไฟฟ้าได้ทั่วทุกมุมโลก ต้องการแสงจากดวงอาทิตย์เท่านั้นเอง อีกทั้งยังเอาพลังงานที่ผลิตนั้นมาใช้งานได้ทันที